พิธีกรรม
อ. ทัศน์ธีร์กร รับจัดพิธีกรรม หรือเป็นผู้ประกอบพิธี ไม่ว่าจะเป็น พิธียกเสาเอก ปลูกบ้าน บูชาท้าวทั้งสี่ พิธีการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ พิธีกรรม ขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญ สืบชะตาราศี พิธีกรรมแต่งงานแบบล้านนา บายศรีสู่ขวัญ เรียกขวัญแต่งงาน ส่งตัวเข้าหอ สนใจพูดคุยรายละเอียดกับอาจารย์ ได้ที่เบอร์ 086-919-6556
พิธียกเสาเอก ปลูกบ้าน
การจะสร้างบ้านสักหลังหนึ่งนั้น ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งนั้นที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ในบ้านเราให้ความสำคัญกันมาก ก็คือขั้นตอนของพิธียกเสาเอก โดยเจ้าของบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า การทำพิธียกเสาเอกจะทำให้งานก่อสร้างมีความราบรื่นไม่มีปัญหาและอุปสรรค เมื่อได้เข้าอยู่บ้านหลังที่สร้างแล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นความเชื่อ และเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา อ่านต่อ
พิธีการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่
การตั้งบูชาศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ เป็นศาลที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ โดยพระภูมิ เปรียบเหมือน “ประธาน” ส่วนเจ้าที่คือ “ผู้จัดการ” ศาลพระภูมิมีลักษณะเป็นบ้านหรือวิหารหลังเล็กตั้งอยู่บนเสาเดี่ยว หรือปะรำทำจากปูนหรือไม้เป็นต้น ตั้งไว้ในจุดที่เชื่อว่าเป็นมงคล ซึ่งมักจะอยู่ริมรั้วหรือมุมหนึ่งนอกบ้าน การสักการะบูชาพระภูมินั้น การจัดเครื่องสังเวยสิ่งของและการบูชาที่ถูกต้องตามเจตนา เพื่อแสดงความเคารพสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเสริมสร้างสิริมงคลให้แก่ตนเอง และครอบครัว ส่งผลให้เราอาศัยในที่อยู่อาศัยอย่างสงบ รอดพ้นโพยภัยทั้งหลายแหล่ เกิดลาภผล โชคลาภนานับประการ ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป อ่านต่อ
พิธีกรรม ขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญ สืบชะตาราศี
ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่หรือขึ้นบ้านใหม่ คือการเริ่มต้นเข้าอยู่ในเรือนหลังใหม่ ตามปกติเรือนแต่ละหลังกว่าที่จะสำเร็จลงได้นั้น ผู้เป็นเจ้าของจะต้องผ่านการทำงานหนักเพื่อรวบรวมวัสดุต่าง ๆ มารวมปลูกสร้างเป็นเรือน กว่าที่จะยกเสาลงหลุมได้ก็ต้องผ่านพิธีกรรมอีกมากมาย เมื่อการปลูกสร้างเรือนสำเร็จลงแล้ว ผู้เป็นเจ้าของย่อมจะมีความผูกพันและภาคภูมิใจที่ผลของการที่ได้ทุ่มเทไปนั้นปรากฏรูปร่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น เมื่อเริ่มที่จะเข้าไปอยู่อาศัย ชาวล้านนาจะต้องทำพิธีกรรมอีกชั้นหนึ่ง คือพิธีขึ้นเรือนใหม่ อ่านต่อ
พิธีกรรมแต่งงานแบบล้านนา
การเรียกขวัญแต่งงาน เป็นการสร้างกำลังใจและเตือนสติให้ผู้ได้รับการเรียกขวัญด้วยว่า ในวาระนั้น ๆ ผู้ได้รับการเรียกขวัญกำลังจะย่างเข้าสู่ชีวิตอีกแบบหนึ่งคือ ทั้งคู่กำลังจะเป็นพ่อเรือนแม่เรือน จะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับชีวิต
ปู่อาจารย์หรือผู้ประกอบพิธี เป็นผู้เรียกขวัญคู่บ่าวสาวให้รักกันยืนนานชั่วชีวิต เป็นภาษาล้านนาที่มีทำนองไพเราะอ่อนหวาน อ่านต่อ