วันและฤกษ์ตั้งศาล มีความสำคัญมาก ควรเลือกวันที่ดีและมีความเป็นสิริมงคลเพื่อให้ประสิทธิ์ผลในทางมงคล แก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนั้นสืบต่อไป วันต่อไปนี้ถือเป็นวันที่เป็นมงคลฤกษ์ แต่ถ้าวันข้างขึ้น หรือข้างแรมดังกล่าวไปตรงกับ วันต้องห้าม ของเดือนใด ให้เลี่ยงไปใช้วันอื่นเสีย
วันข้างขึ้น
๒ ค่ำ
๔ ค่ำ
๖ ค่ำ
๙ ค่ำ
๑๑ ค่ำ
วันข้างแรม
๒ ค่ำ
๔ ค่ำ
๖ ค่ำ
๙ ค่ำ
๑๑ ค่ำ
เวลาฤกษ์อันเป็นมงคล
วันอาทิตย์ | เวลา ๖.๐๙ น. – ๘.๑๙ น. |
วันจันทร์ | เวลา ๘.๒๙ น. – ๑๐.๓๙ น. |
วันอังคาร | เวลา ๖.๓๙ น. – ๘.๐๙ น. |
วันพุธ | เวลา ๘.๓๙ น. – ๑๐.๑๙ น. |
วันพฤหัสบดี | เวลา ๑๐.๔๙ น. – ๑๑.๓๙ น. |
วันศุกร์ | เวลา ๖.๑๙ น. – ๘.๐๙ น. |
วันเสาร์ | เวลา ๘.๔๙ น. – ๑๐.๔๙ น. |
ฤกษ์ยามถือเป็นเรื่องซับซ้อนและละเอียดอ่อน เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วันเวลาที่เหมาะสมในการทำพิธีกรรมแตกต่างกันด้วย จึงขอแนะนำให้ปรึกษาพราหมณ์หรือโหรผู้มีความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม เพื่อดูวันเดือนปีเกิดของเจ้าบ้านและหาฤกษ์ที่เป็นสิริมงคลกับเจ้าบ้านโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้วันต้องห้ามโดยทั่วไปมีดังนี้
วันต้องห้าม
เดือนอ้าย | ( ธันวาคม ) | วันต้องห้ามคือ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ |
เดือนยี่ | ( มกราคม ) | วันต้องห้ามคือ วันพุธ และวันศุกร์ |
เดือน ๓ | ( กุมภาพันธ์ ) | วันต้องห้ามคือ วันอังคาร |
เดือน ๔ | ( มีนาคม) | วันต้องห้ามคือ วันจันทร์ |
เดือน ๕ | ( เมษายน ) | วันต้องห้ามคือ วันพฤหัสบดี และวันเสาร |
เดือน ๖ | ( พฤษภาคม ) | เวันต้องห้ามคือ วันพุธ และวันศุกร์ |
เดือน ๗ | (มิถุนายน ) | วันต้องห้ามคือ วันอังคาร |
เดือน ๘ | ( กรกฎาคม) | วันต้องห้ามคือ วันจันทร์ |
เดือน ๙ | ( สิงหาคม ) | วันต้องห้ามคือ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ |
เดือน ๑๐ | ( กันยายน ) | วันต้องห้ามคือ วันพุธ และวันศุกร์ |
เดือน ๑๑ | ( ตุลาคม ) | วันต้องห้ามคือ วันอังคาร |
เดือน ๑๒ | ( พฤศจิกายน ) | วันต้องห้ามคือ วันจันทร์ |
สังเกตได้ว่า จะไม่ปรากฏว่ามี วันอาทิตย์ เป็น ข้อห้ามเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ยึดเอาวันอาทิตย์ เป็นวันที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งศาล เพราะคนโบราณถือกันว่า วันอาทิตย์นั้นแม้จะจะเป็นวันที่มีกำลังแรงดี แต่เป็นวันแรงและวันร้อน ไม่เหมาะที่จะทำการตั้งศาล เพราะบ้านอาจจะร้อนจรปราศจากความร่มเย็นเป็นสุข แต่ ถ้าหากผู้กระทำพิธีมีเคล็ดมีมนตร์แก้ความร้อนของวันได้ ก็สามารถคิดทำการตั้งศาลในวันนี้ได้ตามความสะดวก
เมื่อทราบหลักสำคัญในข้างต้นว่าการตั้งศาลพระภูมิมีอะไรบ้างแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การประกอบพิธีกรรม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้คือ พราหมณ์และผู้สืบทอดการทำพิธีจากพราหมณ์ และเมื่อตั้งศาลพระภูมิและทำพิธีบวงสรวงอย่างถูกต้องแล้ว เชื่อกันว่าจะช่วยส่งเสริมให้พระภูมิมีพลังในการดูแลคนในบ้านให้ประสบความสุขและความเจริญได้อย่างเต็มที่
สนใจฤกษ์ในการตั้งศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ที่เหมาะสมกับตนเอง และบริการทำพิธีตั้งศาล สามารถติดต่อปรึกษารายละเอียดกับ อ. ทัศน์ธีกร ได้ตามเบอร์นี้ครับ
086-919-6556